แบบฝึกหัดบทที่ 1


1.  จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายถึงระดับการจัดการ การตัดสินใจ และสารสนเทศว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปลำดับขั้นของผู้บริหาร



ตอบ ระดับของผู้บริหารแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยคือ
       1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ โดยกำหนดนโยบายต่าง ๆ
ขององค์การ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
       2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) ทำหน้าที่ควบคุมประสานงานกับผู้บริหารระดับต้นให้
ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และนำผลสำเร็จรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง
       3. ผู้บริหารระดับต้น ( First – Line Manager ) เป็นผู้บริหารที่ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติการ
และมีโอกาสรับรู้ปัญหาที่จริง




ระดับของการตัดสินใจ
       1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making)  การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและการวางแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอน และไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้าได้


       2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาในลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น กาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การวางแผนงบประมาณระยะกลาง และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
       3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making)  การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานซึ่งเกี่ยวข้องกับงานประจำหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานเหล่านั้นได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อการควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในระดับนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าและทำการตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติเนื่องจากจะเป็นปัญหาในเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ตัวอย่างของการตัดสินใจ เช่น การกำหนดเวลาสั่งสินค้าคงคลังจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อแต่ละครั้ง การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการมอบหมายงานให้พนักงานเป็นรายบุคคล
                                                    https://groupwork55.wordpress.com/2015/01/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/



2.  จงบอกความแตกต่างระหว่างสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

ตอบ  

1.ความแตกต่างด้านการใช้งาน
          MIS เป็นระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับ 
งานที่มีโครงสร้างชัดเจน ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีโอกาส หรือปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง 
เพราะงานเหล่านั้นเป็นงานที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
          DSS เป็นระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานหรือแผนที่ไม่มีโครงสร้าง
และไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วในการตัดสินใจ
2.ความแตกต่างด้านผู้ใช้งาน 
          MIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร
          DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง

3.ความแตกต่างด้านการเก็บข้อมูลและประมวลผล
          MIS ดึงข้อมูลจากส่วนกลางที่เป็นฐานข้อมูลเก่าขององค์กรมาวิเคราะห์
          DSS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลและแก้ปัญหา โดยข้อมูลมาจากทั้งภายในและ
ภายนอก
4.ด้านระบบและการแสดงผล
         MIS ระบบจะพิมพ์รายงานออกมาตามกำหนด รูปแบบโดยทั่วไปจึงเป็นเอกสาร
         DSS ระบบเป็นแบบ Online การแสดงผลสามารถทำได้ทันทีทันใดโดยผ่านหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ และสามารถปริ้น 


         -  ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ Dss เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหาจัดการ(Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



แหล่งที่มา: https://nilawangm301.blogspot.com/?fbclid=IwAR1jd9gOCV9R07CVp0wJEgL7ltLE1w2-7r3iOQPnu8_N2imlV1Q_SwvAtrA

3. จงบอกความหมายของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (IRM) และยกตัวอย่างการจัดการมา 1 ด้านพร้อมอธิบาย

ตอบ  ระบวนการดำเนินงานทางเทคนิค วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ในหลาย ๆ รูปแบบ หลายขั้นตอนต่อเนื่องกัน เพื่อให้ศูนย์สารสนเทศได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมตามหลักวิชา ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และ ได้มาอย่างรวดเร็วที่สุดตามระบบงาน วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาและเพิ่มเติม
ตัวอย่าง 
หากมีการใช้ 1 ครั้ง หนังสือเล่มนี้ก็มีความคุ้มค่า 300 บาท
หากมีการใช้ 2 ครั้ง หนังสือเล่มนี้ก็มีความคุ้มค่า 150 บาท 
หากมีการใช้ 5 ครั้ง หนังสือเล่มนี้ก็มีความคุ้มค่า 60 บาท 
หากมีการใช้ 300 ครั้ง หนังสือเล่มนี้ก็มีความคุ้มค่า 1 บาท และหากไม่มีการใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนั้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว หนังสือเล่มนั้นก็ไม่มีความคุ้มค่าเลย กลับจะต้องประเมินความสูญเปล่าจากการจัดหา และการดำเนินงานทางเทคนิคต่าง ๆ ที่ต้องทำก่อนนำ
หนังสือเล่มนั้นออกบริการ ซึ่งเป็นความสูญเปล่า 



แหล่งที่มา http://nunsriworasarn3.blogspot.com/2013/03/acquisition.html

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

บทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร