บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์


ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์(Strategic Information Systems: SIS)
rmation Systems (SIS)
  
ความสำคัญของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ 
         บทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ คือ บทบาทในด้านกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะสินค้าหรือบริการ กระบวนการทำงาน องค์การ โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันได้ จึงมีหลายองค์กรที่ได้นำเอาระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือ และสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน 
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ SIS ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับใดก็ตามขององค์การซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ การดำเนินงาน ผลผลิต การบริการหรือความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์การ (Laudon & Laudon, 1995)
         ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนหรือสร้างตัวแปรและกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขัน SIS อาจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบใดก็ได้ TPS, MRS, DSS, ฯลฯ ที่ช่วยทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ลดความเสียเปรียบในการแข่งขัน หรือช่วยในการบรรลุผลด้านกลยุทธ์อื่น ๆ  (Normann, 1994)

แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐาน 5 อย่าง

1. กลยุทธ์การใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy) เช่น Air Asia ใช้ ระบบการจองตั๋ว ผ่านระบบ Internet ช่วยลดต้นทุนการจ้างพนักงานตัวแทนจำหน่าย
2.  กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) เช่น โทรศัพท์มือถือ Hutch นำระบบ GIS เข้ามาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเลือกเส้นทางเดินทาง หรือตรวจสอบที่อยู่ของอีกฝ่าย
3. กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy) เช่น บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เสนอทางเลือกการใช้บัตรให้แก่สมาชิก โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายพฤติกรรมการใช้ของลูกค้า
       4 . กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategy) เช่น ร้านหนังสือ online ชื่อ amazon.com ได้นำระบบ E-commerce มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ร้านไม่มีสถานที่ที่ตั้งให้ลูกค้าได้ไปเยี่ยมชมเลือกซื้อหนังสือ แต่สามารถทำกำไรได้หลายร้อยล้านดอลล่าต่อปี
       5. กลยุทธ์ด้านพันธมิตร (Alliance Strategy) เช่น บริษัท ชิน คอร์ป ร่วมมือกับ แอร์ เอเชีย ดำเนินธุรกิจสายการบินแบบประหยัด (low cost) และพัฒนาระบบเกี่ยวกับระบบการให้บริการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน


ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
      การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระดับบริหารอีกด้วย
ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน
    1.   สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
 2.  ปัจจัยพื้นฐาน ตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม โครงสร้างองค์กร พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
   3.  การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ควาสำเร็จ
การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่
         เป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ เหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่เริ่มแรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
         มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ
         วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆ บางบริษัทได้รวมวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี


ผลกระทบของสารสนเทศต่อการแข่งขัน
สารสนเทศมีผลกระทบต่อการแข่งขัน 3 ประการ คือ
 1. สารสนเทศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรม และเปลี่ยนแปลงกติกาในการแข่งขัน
 2. สารสนเทศทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน
 3. สารสนเทศสร้างธุรกิจใหม่

ผลกระทบของสารสนเทศต่อการแข่งขัน
  1.สารสนเทศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมหรือรูปแบบการดำเนินงานอุตสาหกรรมได้ เช่น นำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาแทนระบบ Manual System, หรือการนำสารสนเทศเข้ามาใช้ทำให้ขนาดองค์กรเล็กลง (Downsizing), นำระบบ Network มาใช้บริหารจัดการงานมากขึ้น ทำให้สายบังคับบัญชาการทำงานไม่ชัดเจน เป็นต้น
     2. สารสนเทศทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน
สารสนเทศช่วยสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน, การทำให้เกิดความแตกต่างในสินค้า/บริการ, การสร้างนวัตกรรมใหม่, และการสร้างความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการประสานงานระดับต่าง ๆ ขององค์กร 
  3. สารสนเทศสร้างธุรกิจใหม่ สารสนเทศทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นในอุตสาหกรรม 3 ทางคือ  ทำให้การสร้างธุรกิจใหม่มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค เทคโนโลยีทำให้มีความต้องการธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจ Hardware, Software หรือรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ เทคโนโลยีสร้างธุรกิจใหม่จากพื้นฐานธุรกิจเดิม



แหล่งที่มา : http://ploytidaporn5333.blogspot.com/2012/09/strategic-information-systems-sis.html

               http://soawapa-soawapa.blogspot.com/2011/08/8.html












ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบฝึกหัดบทที่ 1

บทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร